วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 11 Computer Security and Safety,Ethics and Privacy

Computer Security and Safety,Ethics and Privacy



Internet นั้นก็เหมือนกับโลกจำลองที่มีบุคคลต่างอยู่อย่างมากมาย ในนั้นก็มีตั้งแต่ร้านหนังสือ,ร้านอาหาร,โรงหนัง โรงภาพยนตร์,สวนสนุกแหล่งให้ความบันเทิงอย่างครบครัน ในเมื่อ Internetเป็นสังคมที่มีกลุ่มบุคคลขนาดใหญ่เหมือนกับสังคมในโลกของความเป็น จริงแน่นอนว่ามันจะต้องมีทั้งคนที่ดีและก็ไม่ดีปะปนกันอยู่ทั่วๆไป ที่คอยจ้องจะแย่งชิงทรัพย์สินและทรัพยากรที่เราพึ่งจะมีออกไปหรือแม้แต่จะ ใช้เราเป็นเครื่องมือในการก่อการร้ายต่างๆท่านอยากจะป้องกันตัวเองจากคน กลุ่มนี้หรือว่าจะอยากให้บุคคลที่ไม่พึ่งประสงค์เหล่านี้เข้ามาโจมตีท่านได้


     Firewall คือ โปรแกรมหรือhardwareที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อควบคุมการเข้าออกของโปรแกรมต่างๆโดยมีพื้นฐานมาจากการที่ตัว firewallจะทำการอ่านข่าวสารต่างๆที่ไหลผ่านเข้ามาในเครื่องทั้งขาเข้าและขาออกโดยจะนำข่าวสารต่างๆ(packet) ไปเปรียบเทียบกับกฎที่เราได้ตั้งเอาไว้ (rule) และจำทำการตัดสินใจว่าจะทำการ ปฏิเสธ (deny) หรือว่า อนุญาต (allow) โดยปกติ firewallจะอยู่ระหว่างเครื่อง computerของเรากับเครื่องcomputer ของคนอื่นๆไม่วาจะเป็นในเครือข่ายหรือ internet ก็ตาม Firewall นั้นแต่เดิมมีความหมายคือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้ไฟ ลามจึงเป็นที่มาของfirewallในเครื่อง computer ที่มีลักษณะคลายๆกันนั้นก็คือป้องกัน computer จากภัยอันตรายต่างๆนั้นเอง




       Proxy server เป็นผู้ให้บริการในการรับคำขอร้องของเครื่องclientไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าweb page,การupload–download หรือว่าการให้บริการต่างๆ ฯลฯ แล้วเครื่อง proxy server ก็จะส่งคำขอร้องของเครื่อง client ไปยัง server อื่นๆต่อไป ดังนั้น Proxy server จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครื่องclient(user)กับจุดหมายปลายทางในinternetในการทำงานเป็นตัวกลางของ proxy server นี้เองเราสามารถนำตัว proxy server มาใช้เป็นเครื่องมือในการพรางตัวของเราได้เพราะว่า proxy server จะเป็นนายหน้าในการออกไปรับส่งข้อมูลแทนเครื่องclientทำให้ IP ที่server ก็บไปนั้นจะเป็นของ proxyทำให้เราได้รับความปลอดภัยในการท่อง internet อีกเป็นเท่าตัวตามปกติแล้วในเมื่อProxyไปเรียกข้อมูลจากที่ใดๆมาก็ตามตัว Proxy นั้นจะเก็บข้อมูลเอาไว้บนserverซึ่งข้อมูลในส่วนนั้นจะถูกเรียกว่า“cache” และถ้าเกิดว่ามีเครื่องอื่นๆมาขอข้อมูลเดียวกันมาอีกทาง proxy ก็จะทำการส่งข้อมูล นั้นไปหาเครื่องที่ขอร้องได้โดยที่ไม่ต้องติดต่อไปยังที่อื่นๆอีกต่อไปทำให้ปริมาณการรับส่งข้อมูลลดลง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความรวดเร็วใน การรับส่งข้อมูลของเครื่องclient อีกทางหนึ่ง ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งของ Proxy ก็คือ proxy free ใช้งานได้นั้นหาได้ยากยิ่ง และที่หาได้ยากยิ่งกว่าคือ proxy free ที่มีการปกปิด Ipให้ (anonymous proxy) ทางที่ดีเราควรขอ proxy จากทางผู้ให้บริการ internet ของเราจะดีกว่าเพราะสามารถใช้ได้จริงและปกปิดIp ได้ดีพอสมควร

       Intrusion detection system (IDS) คือ software หรือ hardware ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อที่ไม่พึงประสงค์ หรือความพยายามที่จะเข้ามาทำอันตรายต่อเครือข่าย โดยผ่านระบบต่างๆเช่น Internet, Lan เป็นต้น โดยการโจมตีนั้นอาจจะเกิดจาก cracker, Worm หรือ Malware ต่างๆและข้อจำกัดของ Intrusion detection system (IDS) นั้นก็คือไม่สามารถที่จะรวจสอบ Packet ที่เข้ารหัสได้องค์ประกอบของ Ids นั้นมีหลายหลายส่วนแต่ส่วนประกอบของ


Intrusion detection system (IDS) ที่สำคัญนั้นมีอยู่สามส่วนได้แก่

1. Sensor คือส่วนที่จะสร้างหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยขึ้นมา
2. Console คือส่วนที่จะตรวจจับเหตุการณ์ต่าง, แจ้งเตือน รวมไปถึงการควบคุม Sensor
3. Engine เป็นส่วน ที่จะบันทึกเหตุการณ์จาก sensor ลงใน Database และจะแจ้งเตือนตามกฎที่ได้ตั้งเอาไว้ใน IDS




คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่อง IDS
Alert/Alarm คือ การแจ้งเตือนเมื่อระบบถูกโจมตี
True attack stimulus คือ เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้ IDS เกิดการแจ้งเตือนเมื่อเกิดการโจมตีขึ้นจริง
False attack stimulus คือ เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการแจ้งเตือนเมื่อไม่มีการโจมตีขึ้นจริง
False (False Positive) การแจ้งเตือนเมื่อไม่เกิดการโจมตีขึ้นจริง
False negative คือ การที่ไม่แจ้งเตือนเมื่อเกิดการโจมตีขึ้นจริง
Noise คือ สิ่งรบกวนที่สามารถทำให้เกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดขึ้นได้
Alarm filtering คือ การดำเนินการแยกการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดออกจากการโจมตีจริงเพื่อให้การแจ้งเตือนมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น



      โปรแกรมฆ่าไวรัส  นั้น เป็น Software ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาใช้ในการป้องกันหรือกำจัดโปรแกรมที่เป็นอันตรายหรือ เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีไม่ให้มาทำอันตรายต่อเครื่องของเราได้โดยทั่วไป นั้นโปรแกรมฆ่าไวรัสนั้นมีอยู่หลากหลายบริษัทเป็นอย่างมากแต่โปรแกรมฆ่า ไวรัสที่ดีนั้นนั้นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ


1. ไม่กินทรัพยากรของเครื่องที่ใช้มากจนเกิดไป
2. มีรายชื่อของไวรัสหรือฐานข้อมูลของไวรัสคลอบคลุมหลากหลายสายพันธุ์
3. สามารถกำจัดไวรัสได้อย่างรวดเร็วและสามารถซ่อมแซม registry ที่ไวรัสได้สร้างความเสียหากไว้ให้ได้

       นี่เป็นคุณสมบัติหลักๆที่โปรแกรมฆ่าไวรัสนั้นต้องมีกัน ถ้ามีคุณสมบัติครบ 3 ข้อก็เป็นโปรแกรมที่มีคุณภาพดีพอสมควรแต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรที่จะลงโปรแกรมพวกนี้พร้อมกันที่เดียวมากกว่า 1 โปรแกรมเพราะจะทำให้เครื่อง Computer ของท่านทำงานได้ช้าลงอย่างเห็นได้ชัดและทางที่ดีเราก็ควรที่จะ update โปรแกรมฆ่าไวรัส อยู่อย่างสม่ำเสมอเพราะว่าทุกวันนี้มีไวรัสเกิดขึ้นมาใหม่ๆในทุกๆวันสิ่งที่ ป้องกันเราได้นั้นไม่ใช้ antivirus ที่มีคุณสมบัติที่ดีเพียงอย่างเดียวแต่ต้องรวมไปถึงความรู้ความเข้าใจใน เรื่องของการป้องกันภัยทาง internet นั้นเอง




ตัวอย่างโปรแกรมฆ่าไวรัสที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
Kasperskyantivirus
Bitdefender antivirus
Nod32 antivirus
Norton antivirus
Mcafee antivirus
F-Secure Anti-Virus

       IPS (Intrusion Prevention System) ระบบตรวจสอบและตอบโต้การบุกรุก IPS (Intrusion Prevention System) คือ Software หรือ hardware ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ตรวจสอบการบุกรุกโดยจะทำงานคล้ายๆกับ IDS แต่จะมีคุณสมบัติพิเศษในการจู่โจมกลับหรือหยุดยั้งผู้บุกรุกได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่จำเป็นต้นอาศัยโปรแกรมหรือ hardware ตัวอื่นๆIPS นั้นจะจู่โจมผู้โจมตีโดยการส่งสัญญาน TCP Reset โต้ตอบกลับไปหรือจะสั่งการ firewall เพื่อปรับเปลี่ยนกฎบางข้อเพื่อป้องกัน Packet อันตรายไม่ให้เข้ามาในเครื่อข่าย การทำงานของ IPS นั้นจะใช้หลักการ Inline คือจะนำ IPS เข้าไปวางไว้ขั้นกลางการส่งข้อมูล(โดยทั่วไปจะวางไว้หลัง firewall) โดยจะไม่มีการกำหนด IP address เอาไว้เพื่อป้องกันการโจมตี (front end) ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดข้อเสียตรงที่ว่าถ้า IPS เกิดมีปัญหาหรือ Block Packet ผิดพลาดอาจส่งผลต่อการทำงานได้ (IPS ที่ได้อธิบายไปนั้นเป็น IPS ชนิด NIPS)

การแบ่งประเภทของ IPS สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1. Network Based Intrusion Prevention System (NIPS)

2. Host Based Intrusion Prevention System (HIPS)



Network Based Intrusion Prevention System (NIDS) คือ IPS
ที่ได้รับการติดตั้งไว้ที่ส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายเพื่อป้องกันการบุกรุก

Host Based Intrusion Prevention System (HIDS) คือ Software ที่ติดตั้งเข้าไปที่เครื่องServerเพื่อป้องกันการบุกรุกหรือการโจมตีต่างๆ ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ก็คือ Antivirus, AntiSpyware เป็นต้น



วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 7 Storage

Storage
 
Storage คือ การเก็บข้อมูล ชุดคำสั่ง หรือ ข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลแล้วไว้ที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภทต่างๆ ซึ่งเก็บข้อมูลไว้เพื่อนำมาเรียกใช้ในภายหลังต่อไป

อุปกรณ์เก็บข้อมูล


Harddisk( ฮาร์ดดิสก์ )
หรือ จานบันทึกแบบแข็ง คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำ งาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของ บริษัท Apple ที่เป็นที่จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
 

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น ระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัท IBM เรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters  ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ จานบันทึกแบบอ่อน  ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุง สองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์

ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุใน ปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล


หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์

    หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาส เซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้  สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก  สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที  แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)  ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น   เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 GB ถึง 4 TB ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือ รหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไปเราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ  อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอันประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที  เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

Solid  State Drive (SSD) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้หน่วยความจำโซลิดสเตทเพื่อจัดเก็บข้อมูลถาวร SSDs ที่แตกต่างจากเดิมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDDs) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีดิสก์หมุนและเคลื่อนย้ายอ่าน / เขียนหัว ในขณะที่ SSDs นั้นใช้หลักการทำงานของ Microchipsและมีชิ้นส่วนที่ไม่เคลื่อนไหว เมื่อเทียบกับแบบดั้งเดิม HDDs, SSDs จึงมีความสั่นนะเทือนทางกายภาพที่น้อยกว่าและมีAccess timeที่ลดลง SSDs ใช้ส่วนติดต่อเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จึงง่ายต่อการเข้าแทนที่ HDD ที่มีใช้งานการใช้งานมากที่สุด
SSDs ใช้หน่วยความจำแบบ NAND flash - based ซึ่งยังคงรักษาข้อมูลไว้แม้ไม่มีกระแสไฟฟ้า SSDs ก็ยังสามารถควบคุม Random Access Momery(RAM) ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

Memory card หรือ การ์ดหน่วยความจำหรือหน่วยความจำแฟลชเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล นิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดรวมทั้งกล้องดิจิตอลโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป, เล่น MP3 และวิดีโอเกมคอนโซล โดยตัวการ์ดนั้นมีขนาดเล็ก สามารถบันทึกและสามารถเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
Memory Cards
USB flash drive ประกอบด้วยหน่วยความจำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลร่วมกับ USB (Universal Serial Bus) 1.1 หรือ 2.0 USB แฟลชไดรฟ์นั้นจะมีขนาดเล็กกว่าฟล็อปปี้ดิสก์ ส่วนใหญ่มีน้ำหนักน้อยกว่า 30 กรัม (1 ออนซ์)  ความจุที่มากที่สุดที่สามารถเก็บได้ในปี 2010 ได้มากถึง 256 GB  มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในขนาดและราคาต่อตลาดผู้ซื้อ โดยสามารถเก็บเขียน/ลบ ข้อมูได้มากกว่า 1 ล้านครั้ง และมีอายุการเก็บรักษาข้อมูลเป็นระยะเวลา 10 ปี
 

USB แฟลชไดรฟ์มักจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกับฟล็อปปี้ดิสก์มีด้วยขนาดที่เล็กและความจุที่เพิ่มขึ้นหลายพันเท่า พร้อมทั้งความคงทนและความน่าเชื่อถือที่สูงมากขึ้น เป็นผลมาจาการที่มันไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวนั่นเอง   จนถึงประมาณปี 2005 คอมพิวเตอร์เดสก์ทอปและแล็ปท็อปได้พร้อมกันยกเลิกไดรฟ์ฟล็อปปี้ดิสก์ เพื่อหันมาใช้ USB flash drive กันมากขึ้น 
 

แฟลช ไดรฟ์ USB ใช้มาตรฐานการเก็บรักษามวล natively สนับสนุนโดยระบบปฏิบัติการที่ทันสมัยเช่น Windows, Mac OS X, Linux, และระบบ Unix - like อื่นๆ ไดรฟ์ USB กับ USB 2.0 สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นและใช้ได้เร็วกว่าดิสก์ไดรฟ์ขนาดใหญ่กว่ามากแสง และสามารถอ่านได้โดยระบบอื่น ๆ เช่น Xbox 360, PlayStation 3, เครื่องเล่นดีวีดีและในบางที่กำลังจะมาร์ทโฟนโทรศัพท์มือถือ
ไดรฟ์ยังคงอยู่ในระยะเพราะคอมพิวเตอร์อ่านและเขียนข้อมูลแฟลชไดรฟ์การใช้คำ สั่งระบบเดียวกับดิสก์ไดรฟ์กลกับการจัดเก็บที่ปรากฏในคอมพิวเตอร์ระบบ ปฏิบัติการและส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นเพียงไดรฟ์อื่น
แฟลชไดรฟ์ประกอบด้วยแผงวงจรพิมพ์เล็กแบกองค์ประกอบวงจรและต่อ USB, ฉนวนไฟฟ้าและป้องกันภายในพลาสติกโลหะยางหรือกรณีที่สามารถดำเนินการใน กระเป๋าหรือพวงกุญแจตัวอย่างเช่น ขั้วต่อ USB อาจมีการป้องกันโดยถอดฝาครอบหรือโดย retracting เข้าสู่ร่างกายของไดรฟ์แม้ว่าจะไม่น่าจะเสียหายหากไม่มีการป้องกัน ส่วน ใหญ่ใช้แฟลชไดรฟ์แบบมาตรฐานการเชื่อมต่อ USB ให้เสียบเข้ากับพอร์ตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ไดรฟ์สำหรับการเชื่อมต่ออื่น ๆ ยังอยู่
ที่สุด USB แฟลชไดรฟ์ดึงพลังงานได้จากการเชื่อมต่อ USB และไม่ต้องการแบตเตอรี่ อุปกรณ์บางที่รวมการทำงานของเครื่องเล่นเสียงดิจิตอลกับการเก็บรักษาแฟลชไดรฟ์ชนิดต้องใช้แบตเตอรี่สำหรับผู้เล่นฟังก์ชัน

Optical disk ออปติคัลดิสก์ มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดี (CD) เพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงนัก
ในปัจจุบันจะมีออปติคอลอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป คือ

ซี ดีรอม (CD-ROM หรือ Computer Disk Read Only Memory) แผ่นซีดีรอมจะมีลักษณะคล้ายซีดีเพลงมาก สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 650 เมตร เมกะไบต์ต่อแผ่น การใช้งานแผ่นซีดีรอมจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) ซึ่งจะมีหลายชนิดขึ้นกับความเร็วในการทำงาน ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1x ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2x) ความเร็ว 4 เท่า(4x) ไปจนถึง 50 เท่า (50x) เป็นต้น
โดย ปัจจุบันนี้ซีดีรอมไดร์ฟที่มีอยู่ในท้องตลาดจะมีความเร็วตั้งแต่สามสิบเท่า ขึ้นไป ข้อจำกัดของซีดีรอมคือสามารถบันทึกได้เพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องมือเฉพาะ เท่านั้น จากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้
ซี ดีรอมได้รับความนิยมใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำหรับอ่านอย่างเดียวเป็นอย่างมาก เช่น ซอฟต์แวร์ เกมส์ พจนานุกรม แผนที่โลก หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะมาในรูปของซีดีรอมเป็นหลัก เนื่องจากสะดวกต่อการติดตั้งลงฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำการเปลี่ยนแผ่นบ่อย ๆ โอกาสเสียมีน้อยและต้นทุนต่ำ

การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีรอม ปกติแล้วต้องใช้เครื่องซึ่งมีราคาแพงมาก แต่ในปัจจุบันมีแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีอาร์ (CD-R หรือ CD Recordable) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นด้วยซีดีอาร์ไดร์ฟ (CD-R drive) ที่มีราคาไม่สูงนัก และนำแผ่นซีดีอาร์ที่มีข้อมูลบันทึกไว้ไปอ่านด้วยซีดีรอมไดร์ฟปกติได้ทันที
ซี ดีอาร์ไดร์ฟสามารถบันทึกแผ่นซีดีอาร์ให้เป็นได้ทั้งซีดีรอมหรือซีดีเพลง (Audio CD) และเก็บบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 600-900 เมกะไบต์ในหนึ่งแผ่น (ถ้าเก็บข้อมูลนั้นในแผ่นดิสก์เกตต์จะต้องใช้หลายร้อยแผ่น) ทำให้เหมาะกับการนำมาจัดเก็บข้อมูลทางด้าน มัลติมีเดีย (Multimedia) และยังมีการนำมาใช้บันทึกเป็น แผ่นต้นฉบับ (Master Disk) เพื่อนำไปผลิตแผ่นซีดีจำนวนมากต่อไป



ซีดีอาร์ดับเบิลยู (CD-RW Drive) ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นให้ไดร์ฟและแผ่น CD-RW ซึ่งเป็นแผ่นซีดีพิเศษที่สามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้คล้ายกับการบันทึกบนแผ่น ดิสก์เกตต์ ทำให้ไดร์ฟและแผ่น CD-RW เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งไดร์ฟ CD-RW ยังสามารถทำการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-R ได้ (เขียนได้ครั้งเดียวไม่สามารถลบได้เช่นเดียวกับการเขียนด้วยไดร์ฟซีดีอาร์) ทำให้สะดวกกับการเลือกบันทึก โดยกรณีที่ต้องการเก็บข้อมูลที่ไม่การเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็สามารถบันทึกลงแผ่นซีดีอาร์ที่มีราคาถูกกว่า และสำหรับข้อมูลที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ก็สามารถบันทึกลงแผ่น CD-RW ได้


ดีวีดี(DVD หรือ Digital Versatile Disk)เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับเก็บภาพยนตร์เต็มเรื่องด้วยคุณภาพสูงสุดทั้งภาพและเสียง (ในขณะที่ CD-ROM หรือ Laser Disk ที่นิยมใช้เก็บภาพยนตร์ในปัจจุบันต้องใช้หลายแผ่น) ทำให้เป็นที่คาดหมายว่าดีวีดีจะมาแทนที่ทั้งซีดีรอม เลเซอร์ดิสก์หรือแม้กระทั่งวิดีโอเทป
ข้อกำหนดของดีวีดีจะสามารถมีความจุ ได้ตั้งแต่ 4.7 GB ถึง 17 GB และมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมแบบเก่าได้ด้วย และยังมีข้อกำหนดสำหรับเครื่องรุ่นที่สามารถอ่านและเขียนแผ่นดีวีดีได้ในตัว เช่น DVD-R(DVD Recordable) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้หนึ่งครั้ง DVD-ROM ซึ่งสามารถบันทึกและลบข้อมูลได้เช่นเดียวกับดิสก์เกต และ DVD-RW ซึ่งสามารถบันทึกและลบข้อมูลได้หลายครั้ง แต่ต้องทำทั้งแผ่นในคราวเดียว เป็นต้น

Chapter 6 Output

Output

Output คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนดแล้ว โดยคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูล(Data)เข้าไปประมวลผลออกมาเป็นข้อมูล สารสนเทศ(Information)โดยการแสดงผลออกมานั้น
สามารถแสดงออกมายังอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมากมายและหลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิค เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device)

เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
- อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display Device)
- อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Printing Device)
- อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device)

Display Device คือ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลแล้ว ข้อมูลสารสนเทศบนอุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ บางครั้งเราเรียกว่า soft copy โดยที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อมูลประเภทสำเนาไม่ได้ อุปกรณ์ที่จัดอยู่ในอุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ได้แก่

Liquid Crystal Display หรือ LCD เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่ แต่ละพิกเซลของ จอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมโลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้ว ไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง



ก่อน ที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็ก จิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ


ชนิดของจอภาพ

     TN+Film (Twisted Nematic) เป็นเทคโนโลยีของจอผลึกเหลว ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน พัฒนาจนสามารถทำให้มีความเร็วของการตอบสนองด้วยความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำ ให้เงาบนภาพเคลื่อนไหวลดลงได้มาก ทำให้จอแบบ TN+Film มีจุดเด่นด้านการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (จอTN+Film จะใช้การวัดการตอบสนอง เป็นแบบ grey to grey ซึ่งจะแตกต่างจากค่า ISO ที่วัดแบบ black to white) แต่จุดเสียของจอแบบ TN+Film นั่นคือมีรัศมีการมองเห็นที่แคบ โดยเฉพาะแนวตั้ง และส่วนใหญ่จะไม่สามารถแสดงสีได้ครบ 16.7ล้านสี (24-bit truecolor)
     IPS (In-Plane Switching) คิดค้นโดยบริษัท Hitachi ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นกว่า TN+Film ทั้งด้านรัศมีการมองเห็น และการแสดงสีที่ 8-bit แต่การปรับปรุงดังกล่าว ทำให้เกิดการตอบสนองที่ชักช้า ถึง 50ms และยังแพงมากอีกด้วย
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2541 Hitachi ได้นำระบบ S-IPS (Super-IPS) ออกมาแทนที่ระบบ IPS เดิม ซึ่งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการตอบสนองที่ดีขึ้น และสีสันที่ไกล้เคียงจอภาพแบบ CRT พบได้ในโทรทัศน์ระบบจอผลึกเหลว
     MVA เป็นการรวมข้อดีระหว่าง TN+Film กับ IPS เข้าด้วยกันทำให้มี Response Time ที่ต่ำ และ View Angle ที่กว้างเป็นพิเศษ แต่มีราคาแพงมาก
     PVA เป็น การพัฒนาจากแบบ MVA ให้มีราคาถูกลงซึ่งทำให้มีค่า Contrast Ratio ที่สูงมาก และมี Response Time ที่ต่ำ ใช้ในจอภาพแบบผลึกเหลวระดับสูง

Plasma monitors คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอนมีชั้นผนัง (Rib) คอยกั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของ Plasma Display จะมีการเรืองแสงขึ้นเอง เหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้น ทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเลตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้

หัวใจ ของเทคโนโลยี Plasma Display จึงอยู่ที่พลาสมาทุกหน่วยที่มาประกอบ เซลล์แสงภายในแผ่นแก้วของจอ Plasma Display จะแยกอิสระแต่ทำงานร่วมกัน โดยมี Pure Vision Cell Size ที่อยู่ 0.286 X 0.808 มม.
ในจอ Plasma Display แบบสี ภาพจะถูกสร้างขึ้นจากจุดหลายๆ จุด แต่ละจุดเรียกว่า พิกเซล แต่ละพิกเซลจะประกอบขึ้นจากเซลล์สี 3 เซลล์คือ แดง เขียว น้ำเงิน ดังนั้นความแตกต่างพื้นฐานประการหนึ่งระหว่างจอ Plasma Display กับ CRT แบบโทรทัศน์ธรรมดาทั่วไป จึงอยู่ตรงที่ Plasma Display (และ LCD) จะดูค่าความละเอียดที่จำนวนพิกเซล ขณะที่ CRT จะดูที่ความเร็วในการสแกนภาพ ยังมีความแตกต่างอีกหลายประการที่ทำให้จอ Plasma Display โดดเด่นกว่าจอภาพ CRT เช่น ขนาดที่สามารถผลิตได้ใหญ่กว่า ความละเอียดของคุณภาพสูงกว่า คุณภาพในแง่ต่างๆ ของภาพดีกว่า รวมไปถึงนำหนักที่เบากว่า และปลอดจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น

HDTV (High-definition television หรือ โทรทัศน์ความละเอียดสูง) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์ แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณภาพ HD เกิดขึ้นครั้งแรกของโลกในช่วงปี ค.ศ.1980  สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศระบบ HD แห่งแรกของโลกคือสถานีโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐอเมริกา จากนั้นเริ่มแพร่หลายไปใน ยุโรป ช่วงยุคปี ค.ศ.1992

HDTV

ความ ละเอียดของ HDTV สามารถให้ความละเอียด ได้ 1920x1080 พิกเซล หรือเรียกว่า Full HD ซึ่งรองรับความละเอียดได้เต็มระบบของสัญญาณภาพสุงสุด ในระบบการออกอากาศของสัญญาณทีวีความละเอียดสูง (High-Definition Broadcasts) ความละเอียดของ HDTV ปัจจุบัน สูงถึง 3840 x 2160 พิกเซล หรือเรียกว่า Quad HDTV ส่วนใหญ่ไม่ใช้สำหรับรับสัญญาณโทรทัศน์ แต่ใช้สำหรับภาพที่มีความละเอียดสูง
CRT Monitor สำหรับจอแบบ CRT นั้นย่อมาจาก Cathode Ray Tube ซึ่งการทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ

CRT Monitor

ซึ่ง ระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกัน ว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย

Dot Matrix Printer
Printer คือ อุปกรณ์แสดงผลทางงานพิมพ์ที่ใช้แสดงผล ข้อความ ภาพกราฟฟิค ลงบนกระดาษ ข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการพิมพ์แล้วเราเรียกว่า hard copy โดยออกแสดงผลประเภทนี้เป็นการแสดงผลแบบถาวร สามารถทำสำเนาได้ โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีอยู่หลายประเภทดังต่อไปนี้
Dot-matrix printer หรือ เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบ 9 เข็ม
และ แบบ 24 เข็ม

InkJet Printer
 Inkjet Printer หรือ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก  เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

Laser Printer

Laser printer หรือ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร  คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมา

Thermal Printer

Thermal printer หรือ เครื่องพิมพ์ความร้อน (Direct thermal printer) ใช้พิมพ์ภาพโดยใช้กระดาษเคลือบความร้อนthermochromicหรือเป็นที่รู้จักกัน ทั่วไป คือ "กระดาษความร้อน" เมื่อกระดาษผ่านเหนือหัวพิมพ์ความร้อนก็จะทำการเคลือบเปลี่ยนสีดำในบริเวณ ที่มีความร้อน เพื่อพิมพ์เป็นภาพสองสีเครื่องพิมพ์ความร้อนโดยตรงมีความสามารถในการพิมพ์ ทั้งสีดำและสีอื่น ๆ (มักจะแดง) โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างกันสอง การพิมพ์การโอนความร้อนเป็นวิธีที่เกี่ยวข้องที่ใช้ความร้อนที่สำคัญริบบิ้น แทนกระดาษความร้อนก็ได้

Multi Function Printer (MFP) เป็นเครื่องสำนักงานที่รวมเอาการทำงานของอุปกรณ์หลายอย่างไว้ในหนึ่งเดียว เพื่อให้มีความเหมาะสมกับออฟฟิคขนาดเล็กในบ้านหรือการธุรกิจขนาดเล็ก ( ส่วนตลาด SOHO) หรือเพื่อให้การจัดการเอกสารส่วนกลางกระจายการผลิต / ในการตั้งสำนักงานใหญ่ ทั่วไป MFP จะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อไปนี้อุปกรณ์ต่อไปนี้

MultiFunction Printer

  •    Printer
  •    Scanner
  •    Photocopier
  •    Fax
  •    E-mail







Plotter printer พล็อตเตอร์เป็นอุปกรณ์การพิมพ์สำหรับการพิมพ์คอมพิวเตอร์กราฟิกแบบเวกเตอร์ ใน อดีต plotters มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ในงานคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ แต่ปัจจุบันกลับถูกแทนที่ด้วยรูปแบบทั้งเครื่องพิมพ์ธรรมดาและเครื่องพิมพ์ แบบกว้าง

อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device) 
  
    อุปกรณ์ขับเสียง คือ อุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสร้างเสียงดนตรี เสียงพูด  และ เสียงอื่นๆ และที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะประกอบไปด้วย
Speaker หรือ ลำโพงคอมพิวเตอร์  เป็นลำโพงภายนอก ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านช่องเสียบซึ่งต่อจากการ์ดเสียงภายในเครื่อง โดยอาจต่อเข้ากับแจ็คสเตอริโอธรรมดา หรือขั้วต่ออาร์ซีเอ (RCA connector) และยังมีจุดเชื่อมต่อยูเอสบี สำหรับใช้ในปัจจุบัน โดยมีแรงดันไฟจ่าย 5 โวลต์ ลำโพงคอมพิวเตอร์มักจะมีขุดขยายเสียงขนาดเล็ก และชุดแหล่งจ่ายไฟต่างหาก
Speaker
ปัจจุบันลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์มีด้วยกัน หลากหลายรูปแบบ ขนาด และราคา ปกติจะมีขนาดเล็ก ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีการผลิตลำโพงคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน สามารถปรับแต่งเสียงทุ้มแหลม หรือคุณลักษณะอื่นๆ ได้

Headphone หูฟังเป็นคู่ของลำโพงขนาดเล็กหรือน้อยกว่าปกติลำโพงเดี่ยว วิธีการคือเลือกใส่ได้ใกล้เคียงกับหูของผู้ใช้ ชื่อเรียกของหูฟังหมายถึงการเชื่อมต่อไปยังแหล่งสัญญาณเช่นเครื่องขยายเสียง วิทยุหรือเครื่องเล่นซีดี พวกเขาจะเรียกว่า stereophones หรือHeadset  หูฟังที่เสียบเข้าไปในหูเป็นที่รู้จักกันเป็นหูฟังหรือ earbuds

Headphone
Earbuds

Chapter 4 The Components of the System Unit


The Components of the System Unit

System Unit คืออะไร?

System Unit คือ เคสที่เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน

ส่วนประกอบของ System Unit


Motherboard

มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า System board คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการ เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่างๆ

Processor หรือที่เรียกอีกชื่อนึงคือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)  คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะ เรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติด ตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บ คำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำ สั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น



ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

Processor Cooling  การทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจัยที่เป็นปัญหาหลักคือ วาม ร้อน ซึ่งอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดความร้อนสูงก็คือ CPU ยิ่ง CPU ทำงานเร็วมากเท่าใด ก็จะเกิดความร้อนได้มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันทางบริษัทผู้ผลิตก็พยามแก้ไขปัญหานี้อยู่ วิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องความร้อน ก็คือการติด Heat sink (ฮีตซิงก์ คืออุปกร์ที่ช่วยในการระบายความร้อน)



Heatsink

ระบบระบายความร้อนโดย Heat sink
ฮีตซิงก์ คือแท่งโลหะที่ใช้สำหรับระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของอุปกรณ์ใด อุปกรณ์หนึ่ง เช่น CPU, การ์ดแสดงผล เป็นต้น ขอยกตัวอย่าง ฮีตซิงก์ กับ CPU เนื่องจากพื้นผิวของ ฮีตซิงค์ กับซีพียู ไม่เรียบ ดังนั้น โดยทั่วไปจะมีการนำซิลิโคน ซึ่งเป็นของเหลวชนิดหนึ่งเป็นตัวกลางในการส่งผ่านความร้อนจากซีพียูไปยัง ฮีตซิงก์ มาทากั้น จากด้านบนของฮีตซิงก์ จะมีพัดลม เป็นตัวระบายความร้อน
อุปกรณ์ ที่มีการนำ ฮีตซิงก์ มาช่วยในการระบายความร้อน เช่น ซีพียู, การ์ดแสดงผล, แรม และชิปเซ็ตทั่วไป ซึ่งฮีตซิงก์ที่นำมาใช้ในอุปกรณ์แต่ละชนิดนั้น จะมีลักษณะและหน้าตาแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย


Memory หรือ หน่วยความจำนั้น เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เก็บชุดคำสั่งที่จะทำการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง โดยทั่วไปเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง
    จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่างเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วยหรือไม่
    หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องกำหนดคุณลักษณะ ในเรื่องช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล (access time) ค่าที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณ 60 นาโนวินาที ถึง 125 นาโนวินาที ( 1 นาโนวินาทีเท่ากับ 10-9 วินาที) แต่อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาให้หน่วยความจำสามารถใช้กับซีพียูที่ทำงานเร็วขนาด 33 เมกะเฮิรตซ์ ได้ โดยการสร้างหน่วยความจำพิเศษมาคั่นกลางไว้ ซึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาเพื่อนำชุดคำสั่ง หรือข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อให้ซีพียูเรียกใช้ได้เร็วขึ้น


RAM

    การแบ่งประเภทหน่วยความจำหลัก ถ้าแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล กล่าวคือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) แต่ถ้าหน่วยความจำเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร ก็เรียกว่า หน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory)
    แต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของหน่วยความจำจะแบ่งตามสภาพการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ และหากเป็นหน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ ก็เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐานของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอมส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบลบข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตราไวโลเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน หน่วยความจำประเภทนี้มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบปิดทับไว้ เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM)


Power Supply เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายใน เครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
 

Power Supply

ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่ อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย

Chapter 3 Application Software

Application Software
   
  Application Software(ซอฟแวร์ที่ประยุกต์) หมายถึง ชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หลายชนิดแต่ละชนิดแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานที่จะทำเป็นสำคัญ


ประเภทของซอฟแวร์

Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว ๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กรหรืองานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลงหรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง จึงประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติอีกด้วย ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนี้มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากรที่มี ความชำนาญในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่ง
Custom software คือ ซอฟต์แวร์ที่ออกแบบและเขียนขึ้นเองตามความต้องการของผู้ใช้เอง นับเป็นซอฟแวร์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด
Web application  โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า  คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดต และดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่าย และติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องผู้ใช้ 
Open source software คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์  โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป
Shareware เป็นลักษณะของการใช้ซอฟต์แวร์ฟรีอีกประเภทหนึ่ง โปรแกรมนี้จะมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตาม
กฎหมายและให้นำไปใช้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ถ้าเราชอบโปรแกรมนี้หรือได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ หรือตัดสินใจว่าจะต้องใช้ต่อไป เราควรจะต้องส่งเงินไปให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมนั้นด้วย
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ประเภท Shareware และ Freeware จะได้มาจาก Download ในระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผู้ใช้สามารถทำการสำเนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการได้จากระบบเครือข่าย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ซอฟต์แวร์สามารถใช้งานได้นานเท่าใด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตที่กำหนดระยะเวลาการใช้งานแต่ละซอฟต์แวร์
Freeware เป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ที่แจกจ่ายให้กับผู้ใช้โดยไม่คิดมูลค่า
โปรแกรมเหล่านี้จะไม่สามารถนำไปขายเพื่อหากำไรได้ ผู้ใช้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นอาจารย์, นักศึกษาหรือบุคคลอื่นๆ สามารถขอใช้ซอฟต์แวร์ฟรีนี้ได้จากได้ ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายจะเป็นผู้เสนอให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรีให้ใช้ หรือทดลองใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบซอฟต์แวร์รุ่นเบต้า (Beta Software) ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้งานรุ่นทดลองเป็นรุ่นที่ 2 ต่อจากรุ่นอัลฟา (Alpha) ที่ยังไม่พร้อมจะวางออกขายแต่อาจจะเผยแพร่เพื่อการทดลองใช้ และให้ผู้ใช้ช่วยส่งผลการทดลองใช้หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจาก การใช้กลับไปให้ผู้เขียนโปรแกรมได้ทราบเพื่อที่จะปรับปรุงต่อไป
Public-domain software เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์และแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการใช้โดยไม่คิดมูลค่า
ไม่ต้องมีการขออนุญาตหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะมี Public Domain ที่บริการให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรี
ชนิดของซอฟแวร์
Utility Program โปรแกรม ประเภทนี้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการจัดการกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำหรับสำรองข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ (Backup), โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ (Scandisk), โปรแกรมที่ช่วยจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ (Disk Defragment) เพื่อให้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น, โปรแกรมตรวจสอบไวรัส (Virus Scan) เพื่อช่วยในการตรวจสอบและทำลายไวรัส ป้องกันไวรัสทำลายหรือลบไฟล์ข้อมูลต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์, โปรแกรมบีบอัดข้อมูล (Compression Utility) ใช้บีบอัดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มเนื้อที่ใช้งานในดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้น เช่น WinZip เป็นต้น
Business Software  (ซอฟแวร์ธุรกิจ) ซอฟแวร์จำพวกนี้ประกอบไปด้วย
- word processing Software (ซอฟต์แวร์ประมวลคำ) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
- spreadsheet Software  (ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง
- Database Software  (ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล
- Presentation Software (ซอฟต์แวร์นำเสนอ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะ สื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้

Chapter 2 The Internet and World Wide Web

The Internet and World Wide Web

อินเทอร์เน็ต คืออะไร
 
     IP (Internet protocal) Address
 
      คอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
ถ้า ท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน

IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข

1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214

      อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลกจึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาในที่นี้จะ กล่าวถึงประโยชน์ของ อินเตอร์เน็ตหลักๆดังนี้
 

ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail : E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail เป็น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อ ความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งเป็นที่อยู่ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย1ฉบับ แล้วส่งไปยังที่อยู่นั้น ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้ว
การขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต (Telnet) เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีก เครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่ โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอ
การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียงการสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัด เรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น.การ แลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็น 
การให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์ เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิด เห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง 
การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็น การพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็น การจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้า ตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 
การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจ ได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก 
การให้ความบันเทิง(Entertain) ใน อินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 1 Introdution to Computers

คอมพิวเตอร์คืออะไร?
   คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานภายใต้คำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำ  สามารถรับและประมวลผลข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์นั้นประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆดังนี้
1.หน่่วยระบบ(System Unit) หมายถึง เคสที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆอยู่ภายใน
2. ส่วนรับข้อมูล (Input Devices) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัส ดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง
3.หน่วยแสดงผล (Output Devices) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล
4.อุปกรณ์เก็บข้อมูล(Storage Devices ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ได้รับหรือผ่านการประมวลผลแล้วไว้ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในภายหลัง
5.อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร(Communication Devices) เป็นอุปกรณ์ืั้ที่มีหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์หรือสื่อต่างๆ


ประเภทของคอมพิวเตอร์
  คอมพิวเตอร์นั้นจะแบ่งประเภทออกตามลักษณะรูปแบบการใช้งานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีใช้งานกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน สำนักงาน โรงเรียน สถานที่ราชกาล ฯลฯ
2.คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา (Mobile Computers and Mobile Devices) คอมพิวเตอร์พกพานั้นได้แก่พวก Notebook หรือ Tablet PC เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์พกพา ได้แก่ สมาร์ทโฟน PDA เครื่องเล่นสื่อแบบพกพา(จำพวก Ipod) กล้องดิจิตอล และเครื่องเล่นเกมแบบพกพา เป็นต้น
3.คอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์(Server) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการต่อเข้ากับระบบเครือข่ายเพื่อประมวลผลหรือจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ นิยมใช้ในบริษัทที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์และเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมากในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Mianframes Computer และ Super Computer ที่มีีประสิทธิการทำงานสูงมาก ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
   ระบบสารสนเทศนั้นประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
3.บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ 
4.ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ
5.กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้ การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง