Output
Output คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนดแล้ว โดยคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูล(Data)เข้าไปประมวลผลออกมาเป็นข้อมูล สารสนเทศ(Information)โดยการแสดงผลออกมานั้น
สามารถแสดงออกมายังอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมากมายและหลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิค เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device)
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
- อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display Device)
- อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Printing Device)
- อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device)
Display Device คือ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลแล้ว ข้อมูลสารสนเทศบนอุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ บางครั้งเราเรียกว่า soft copy โดยที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อมูลประเภทสำเนาไม่ได้ อุปกรณ์ที่จัดอยู่ในอุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ได้แก่
Liquid Crystal Display หรือ LCD เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่ แต่ละพิกเซลของ จอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมโลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้ว ไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง
ก่อน ที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็ก จิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ
ชนิดของจอภาพ
TN+Film (Twisted Nematic) เป็นเทคโนโลยีของจอผลึกเหลว ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน พัฒนาจนสามารถทำให้มีความเร็วของการตอบสนองด้วยความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำ ให้เงาบนภาพเคลื่อนไหวลดลงได้มาก ทำให้จอแบบ TN+Film มีจุดเด่นด้านการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (จอTN+Film จะใช้การวัดการตอบสนอง เป็นแบบ grey to grey ซึ่งจะแตกต่างจากค่า ISO ที่วัดแบบ black to white) แต่จุดเสียของจอแบบ TN+Film นั่นคือมีรัศมีการมองเห็นที่แคบ โดยเฉพาะแนวตั้ง และส่วนใหญ่จะไม่สามารถแสดงสีได้ครบ 16.7ล้านสี (24-bit truecolor)
IPS (In-Plane Switching) คิดค้นโดยบริษัท Hitachi ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นกว่า TN+Film ทั้งด้านรัศมีการมองเห็น และการแสดงสีที่ 8-bit แต่การปรับปรุงดังกล่าว ทำให้เกิดการตอบสนองที่ชักช้า ถึง 50ms และยังแพงมากอีกด้วย
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2541 Hitachi ได้นำระบบ S-IPS (Super-IPS) ออกมาแทนที่ระบบ IPS เดิม ซึ่งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการตอบสนองที่ดีขึ้น และสีสันที่ไกล้เคียงจอภาพแบบ CRT พบได้ในโทรทัศน์ระบบจอผลึกเหลว
MVA เป็นการรวมข้อดีระหว่าง TN+Film กับ IPS เข้าด้วยกันทำให้มี Response Time ที่ต่ำ และ View Angle ที่กว้างเป็นพิเศษ แต่มีราคาแพงมาก
PVA เป็น การพัฒนาจากแบบ MVA ให้มีราคาถูกลงซึ่งทำให้มีค่า Contrast Ratio ที่สูงมาก และมี Response Time ที่ต่ำ ใช้ในจอภาพแบบผลึกเหลวระดับสูง
Plasma monitors คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอนมีชั้นผนัง (Rib) คอยกั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของ Plasma Display จะมีการเรืองแสงขึ้นเอง เหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้น ทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเลตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device)
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
- อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display Device)
- อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Printing Device)
- อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device)
Display Device คือ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลแล้ว ข้อมูลสารสนเทศบนอุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ บางครั้งเราเรียกว่า soft copy โดยที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏออกมาเป็นข้อมูลประเภทสำเนาไม่ได้ อุปกรณ์ที่จัดอยู่ในอุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ได้แก่
Liquid Crystal Display หรือ LCD เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่ แต่ละพิกเซลของ จอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมโลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้ว ไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง
ก่อน ที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็ก จิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ
ชนิดของจอภาพ
TN+Film (Twisted Nematic) เป็นเทคโนโลยีของจอผลึกเหลว ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน พัฒนาจนสามารถทำให้มีความเร็วของการตอบสนองด้วยความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำ ให้เงาบนภาพเคลื่อนไหวลดลงได้มาก ทำให้จอแบบ TN+Film มีจุดเด่นด้านการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (จอTN+Film จะใช้การวัดการตอบสนอง เป็นแบบ grey to grey ซึ่งจะแตกต่างจากค่า ISO ที่วัดแบบ black to white) แต่จุดเสียของจอแบบ TN+Film นั่นคือมีรัศมีการมองเห็นที่แคบ โดยเฉพาะแนวตั้ง และส่วนใหญ่จะไม่สามารถแสดงสีได้ครบ 16.7ล้านสี (24-bit truecolor)
IPS (In-Plane Switching) คิดค้นโดยบริษัท Hitachi ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นกว่า TN+Film ทั้งด้านรัศมีการมองเห็น และการแสดงสีที่ 8-bit แต่การปรับปรุงดังกล่าว ทำให้เกิดการตอบสนองที่ชักช้า ถึง 50ms และยังแพงมากอีกด้วย
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2541 Hitachi ได้นำระบบ S-IPS (Super-IPS) ออกมาแทนที่ระบบ IPS เดิม ซึ่งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการตอบสนองที่ดีขึ้น และสีสันที่ไกล้เคียงจอภาพแบบ CRT พบได้ในโทรทัศน์ระบบจอผลึกเหลว
MVA เป็นการรวมข้อดีระหว่าง TN+Film กับ IPS เข้าด้วยกันทำให้มี Response Time ที่ต่ำ และ View Angle ที่กว้างเป็นพิเศษ แต่มีราคาแพงมาก
PVA เป็น การพัฒนาจากแบบ MVA ให้มีราคาถูกลงซึ่งทำให้มีค่า Contrast Ratio ที่สูงมาก และมี Response Time ที่ต่ำ ใช้ในจอภาพแบบผลึกเหลวระดับสูง
Plasma monitors คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอนมีชั้นผนัง (Rib) คอยกั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของ Plasma Display จะมีการเรืองแสงขึ้นเอง เหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้น ทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเลตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้
หัวใจ ของเทคโนโลยี Plasma Display จึงอยู่ที่พลาสมาทุกหน่วยที่มาประกอบ เซลล์แสงภายในแผ่นแก้วของจอ Plasma Display จะแยกอิสระแต่ทำงานร่วมกัน โดยมี Pure Vision Cell Size ที่อยู่ 0.286 X 0.808 มม.
ในจอ Plasma Display แบบสี ภาพจะถูกสร้างขึ้นจากจุดหลายๆ จุด แต่ละจุดเรียกว่า พิกเซล แต่ละพิกเซลจะประกอบขึ้นจากเซลล์สี 3 เซลล์คือ แดง เขียว น้ำเงิน ดังนั้นความแตกต่างพื้นฐานประการหนึ่งระหว่างจอ Plasma Display กับ CRT แบบโทรทัศน์ธรรมดาทั่วไป จึงอยู่ตรงที่ Plasma Display (และ LCD) จะดูค่าความละเอียดที่จำนวนพิกเซล ขณะที่ CRT จะดูที่ความเร็วในการสแกนภาพ ยังมีความแตกต่างอีกหลายประการที่ทำให้จอ Plasma Display โดดเด่นกว่าจอภาพ CRT เช่น ขนาดที่สามารถผลิตได้ใหญ่กว่า ความละเอียดของคุณภาพสูงกว่า คุณภาพในแง่ต่างๆ ของภาพดีกว่า รวมไปถึงนำหนักที่เบากว่า และปลอดจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
ในจอ Plasma Display แบบสี ภาพจะถูกสร้างขึ้นจากจุดหลายๆ จุด แต่ละจุดเรียกว่า พิกเซล แต่ละพิกเซลจะประกอบขึ้นจากเซลล์สี 3 เซลล์คือ แดง เขียว น้ำเงิน ดังนั้นความแตกต่างพื้นฐานประการหนึ่งระหว่างจอ Plasma Display กับ CRT แบบโทรทัศน์ธรรมดาทั่วไป จึงอยู่ตรงที่ Plasma Display (และ LCD) จะดูค่าความละเอียดที่จำนวนพิกเซล ขณะที่ CRT จะดูที่ความเร็วในการสแกนภาพ ยังมีความแตกต่างอีกหลายประการที่ทำให้จอ Plasma Display โดดเด่นกว่าจอภาพ CRT เช่น ขนาดที่สามารถผลิตได้ใหญ่กว่า ความละเอียดของคุณภาพสูงกว่า คุณภาพในแง่ต่างๆ ของภาพดีกว่า รวมไปถึงนำหนักที่เบากว่า และปลอดจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
HDTV (High-definition television หรือ โทรทัศน์ความละเอียดสูง) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์ แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณภาพ HD เกิดขึ้นครั้งแรกของโลกในช่วงปี ค.ศ.1980 สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศระบบ HD แห่งแรกของโลกคือสถานีโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐอเมริกา จากนั้นเริ่มแพร่หลายไปใน ยุโรป ช่วงยุคปี ค.ศ.1992
ความ ละเอียดของ HDTV สามารถให้ความละเอียด ได้ 1920x1080 พิกเซล หรือเรียกว่า Full HD ซึ่งรองรับความละเอียดได้เต็มระบบของสัญญาณภาพสุงสุด ในระบบการออกอากาศของสัญญาณทีวีความละเอียดสูง (High-Definition Broadcasts) ความละเอียดของ HDTV ปัจจุบัน สูงถึง 3840 x 2160 พิกเซล หรือเรียกว่า Quad HDTV ส่วนใหญ่ไม่ใช้สำหรับรับสัญญาณโทรทัศน์ แต่ใช้สำหรับภาพที่มีความละเอียดสูง
HDTV |
ความ ละเอียดของ HDTV สามารถให้ความละเอียด ได้ 1920x1080 พิกเซล หรือเรียกว่า Full HD ซึ่งรองรับความละเอียดได้เต็มระบบของสัญญาณภาพสุงสุด ในระบบการออกอากาศของสัญญาณทีวีความละเอียดสูง (High-Definition Broadcasts) ความละเอียดของ HDTV ปัจจุบัน สูงถึง 3840 x 2160 พิกเซล หรือเรียกว่า Quad HDTV ส่วนใหญ่ไม่ใช้สำหรับรับสัญญาณโทรทัศน์ แต่ใช้สำหรับภาพที่มีความละเอียดสูง
CRT Monitor สำหรับจอแบบ CRT นั้นย่อมาจาก Cathode Ray Tube ซึ่งการทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ
ซึ่ง ระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกัน ว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
CRT Monitor |
ซึ่ง ระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกัน ว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
Dot Matrix Printer |
Printer คือ อุปกรณ์แสดงผลทางงานพิมพ์ที่ใช้แสดงผล ข้อความ ภาพกราฟฟิค ลงบนกระดาษ ข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการพิมพ์แล้วเราเรียกว่า hard copy โดยออกแสดงผลประเภทนี้เป็นการแสดงผลแบบถาวร สามารถทำสำเนาได้ โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีอยู่หลายประเภทดังต่อไปนี้
Dot-matrix printer หรือ เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบ 9 เข็มและ แบบ 24 เข็ม
InkJet Printer |
Laser Printer |
Laser printer หรือ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก
Thermal Printer |
Thermal printer หรือ เครื่องพิมพ์ความร้อน (Direct thermal printer) ใช้พิมพ์ภาพโดยใช้กระดาษเคลือบความร้อนthermochromicหรือเป็นที่รู้จักกัน ทั่วไป คือ "กระดาษความร้อน" เมื่อกระดาษผ่านเหนือหัวพิมพ์ความร้อนก็จะทำการเคลือบเปลี่ยนสีดำในบริเวณ ที่มีความร้อน เพื่อพิมพ์เป็นภาพสองสีเครื่องพิมพ์ความร้อนโดยตรงมีความสามารถในการพิมพ์ ทั้งสีดำและสีอื่น ๆ (มักจะแดง) โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างกันสอง การพิมพ์การโอนความร้อนเป็นวิธีที่เกี่ยวข้องที่ใช้ความร้อนที่สำคัญริบบิ้น แทนกระดาษความร้อนก็ได้
Multi Function Printer (MFP) เป็นเครื่องสำนักงานที่รวมเอาการทำงานของอุปกรณ์หลายอย่างไว้ในหนึ่งเดียว เพื่อให้มีความเหมาะสมกับออฟฟิคขนาดเล็กในบ้านหรือการธุรกิจขนาดเล็ก ( ส่วนตลาด SOHO) หรือเพื่อให้การจัดการเอกสารส่วนกลางกระจายการผลิต / ในการตั้งสำนักงานใหญ่ ทั่วไป MFP จะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อไปนี้อุปกรณ์ต่อไปนี้
MultiFunction Printer |
- Printer
- Scanner
- Photocopier
- Fax
Plotter printer พล็อตเตอร์เป็นอุปกรณ์การพิมพ์สำหรับการพิมพ์คอมพิวเตอร์กราฟิกแบบเวกเตอร์ ใน อดีต plotters มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ในงานคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ แต่ปัจจุบันกลับถูกแทนที่ด้วยรูปแบบทั้งเครื่องพิมพ์ธรรมดาและเครื่องพิมพ์ แบบกว้าง
อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device)
อุปกรณ์ขับเสียง คือ อุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสร้างเสียงดนตรี เสียงพูด และ เสียงอื่นๆ และที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะประกอบไปด้วย
Speaker หรือ ลำโพงคอมพิวเตอร์ เป็นลำโพงภายนอก ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านช่องเสียบซึ่งต่อจากการ์ดเสียงภายในเครื่อง โดยอาจต่อเข้ากับแจ็คสเตอริโอธรรมดา หรือขั้วต่ออาร์ซีเอ (RCA connector) และยังมีจุดเชื่อมต่อยูเอสบี สำหรับใช้ในปัจจุบัน โดยมีแรงดันไฟจ่าย 5 โวลต์ ลำโพงคอมพิวเตอร์มักจะมีขุดขยายเสียงขนาดเล็ก และชุดแหล่งจ่ายไฟต่างหาก
Speaker |
ปัจจุบันลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์มีด้วยกัน หลากหลายรูปแบบ ขนาด และราคา ปกติจะมีขนาดเล็ก ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีการผลิตลำโพงคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน สามารถปรับแต่งเสียงทุ้มแหลม หรือคุณลักษณะอื่นๆ ได้
Headphone หูฟังเป็นคู่ของลำโพงขนาดเล็กหรือน้อยกว่าปกติลำโพงเดี่ยว วิธีการคือเลือกใส่ได้ใกล้เคียงกับหูของผู้ใช้ ชื่อเรียกของหูฟังหมายถึงการเชื่อมต่อไปยังแหล่งสัญญาณเช่นเครื่องขยายเสียง วิทยุหรือเครื่องเล่นซีดี พวกเขาจะเรียกว่า stereophones หรือHeadset หูฟังที่เสียบเข้าไปในหูเป็นที่รู้จักกันเป็นหูฟังหรือ earbuds
Headphone |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น